ข้ามไปเนื้อหา

การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเรือนช่วญี่ปุ่นและกองกำลังสหรัฐในเขตมิซาวะขณะกำลังช่วยกันกู้พาหนะยานยนต์

จากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 ทำให้ประเทศญี่ปุ่นได้รับข้อความแสดงความเสียใจและได้รับการเสนอความช่วยเหลือจากผู้นำต่างประเทศ ตามที่กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมี 116 ประเทศ และ 28 องค์กรระหว่างประเทศได้เสนอความช่วยเหลือไปยังประเทศญี่ปุ่น[1] ซึ่งบทความนี้เป็นรายชื่อของการตอบสนองด้านการช่วยเหลือการกุศลและด้านมนุษยธรรมสำหรับภัยจากธรรมชาติ จากภาครัฐบาลและองค์การสาธารณประโยชน์ โดยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการบริจาคเงินไปยังพื้นที่ประสบภัยพิบัติรวม 520 พันล้านเยน และผู้คน 930,000 รายได้รับความช่วยเหลือในความพยายามที่จะกู้คืนจากภัยพิบัติ[2]

การร้องขอ

[แก้]

ทางประเทศญี่ปุ่นได้ขอทีมช่วยเหลือจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[3][4] และได้ขอร้องผ่านทางองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นให้มีการเคลื่อนไหวด้านกฎบัตรระหว่างประเทศในพื้นที่และภัยพิบัติครั้งใหญ่ ให้ดาวเทียมได้แสดงความหลากหลายของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมใช้งานร่วมกันกับการกู้ภัยและองค์กรให้ความช่วยเหลือ[5]

การตอบสนองจากนานาประเทศ

[แก้]
ชาวรัสเซียนำดอกไม้ไปแสดงความอาลัยยังสถานทูตญี่ปุ่นประจำกรุงมอสโก
  • บังกลาเทศ บังคลาเทศ ส่งทีมค้นหาและกู้ภัยรวมทั้งทีมแพทย์ไปช่วยเหลือ[14]
  • แคนาดา แคนาดา เริ่มแรกส่งทีมช่วยเหลือจำนวน 17 คน รวมทั้งอุปกรณ์ขจัดทางเคมี ชีวภาพ รังสี และนิวเคลียร์ นายกรัฐมนตรีแคนาดา สตีเฟน ฮาร์ปเปอร์สั่งการนำเครื่องบินแคนาเดียนฟอร์ซ พร้อมอุปกรณ์ทางแพทย์ และวิศวกรรม
  • จีน จีน ได้ส่งเงินช่วยเป็นจำนวนเงิน 167,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภายในวันเดียวพร้อมทีมเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ ออกจากประเทศ ณ วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยที่จีนก็ได้รับผลกระทบกับแผ่นดินไหวในมณฑลยูนนาน พ.ศ. 2554 ก่อนญี่ปุ่นเพียงหนึ่งวัน
  • ไต้หวัน ประธานาธิบดีไต้หวันสาธารณรัฐจีน ได้สั่งการบริจาคเงิน 100 ล้าน ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (ประมาณ 3.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 300 ล้านหยวน) พร้อมทั้งทีมช่วยเหลือ 35 คน และ ทีมช่วยเหลืออีก 28 คนจากกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งยังได้มีการรวบรวมเงินบริจาคส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยคิดเป็นมูลค่ารวมมากถึง 5,700 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ หรือประมาณ 20,000 ล้านเยน ซึ่งเป็นตัวเลขยอดเงินบริจาคที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของไต้หวันสำหรับการช่วยเหลือในด้านมนุษยธรรมแก่ต่างประเทศ รวมทั้งยังส่งให้ไต้หวันเป็นประเทศที่บริจาคเงินช่วยเหลืออุบัติภัยในครั้งนี้ที่สูงที่สุดด้วย[16][17]
  • ฮังการี ฮังการี หน่วยงานจัดการภัยพิบัติแห่งชาติฮังการีได้ส่งทีมสู้ภัยลงสู่บริเวณพื้นที่เกิดเหตุเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่กู้ภัยทางเทคนิคและเจ้าหน้าเชี่ยวชาญพิเศษจำนวน 8 นาย
  • อินเดีย อินเดีย กำลังส่งเสื้อขนแกะและผ้าห่ม โดยแผนแรกจะเริ่มส่งเป็นประมาณ 22 ตัน[20]
  • อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ส่งทีมงานกู้ภัย ความช่วยเหลือทางเวชภัณฑ์และการแพทย์ และบริจาคเงินเป็นจำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[21]
  • อิสราเอล อิสราเอล ได้ส่งองค์กรช่วยเหลือมนุษยธรรมแห่งอิสราเอล (IsraAID และ ZAKA) ได้แก่ผู้ตอบสนอง (first responders) ทีมเฉพาะสำหรับค้นหา และช่วยเหลือ พร้อมเจ้าหน้าที่เคลื่อนย้าย เจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน ทีมเจ้าหน้าที่แพทย์ และอุทกบุคลากร (water specialists)
  • ลาว ลาว บริจาค 100,000 ดอลลาร์สหรัฐในการช่วยเหลือ[22]
  • มาเลเซีย มาเลเซีย ได้ส่งทีมค้นหา และทีมช่วยเหลือพร้อมแพทย์ ทีมแพทย์ช่วยเหลือ[23][24]
  • เม็กซิโก เม็กซิโก ส่งทีมเฉพาะด้านค้นหาและช่วยเหลือ 8 คน กับสุนัข 5 ตัว พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา[25]
  • นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ ส่งทีมช่วยเหลือและทีมค้นหา พร้อมทั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือ 15 ตัน[26]
  • ปากีสถาน รัฐบาลปากีสถานให้ความช่วยเหลือผ่านทางสถานทูตปากีสถาน ณ กรุงโตเกียว โดยการส่งทีมงานสู่เมืองเซ็นได เพื่อติดตามสถานการณ์และช่วยเหลือผุ้ประสบภัย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม สมาคมชาวปากีสถานในญี่ปุ่นก็ได้จัดส่งอาหารไปช่วยเหลือ[27]
  • ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ส่งทีมช่วยเหลือ 41 คนจากคณะ 3 คณะประกอบด้วยทีมค้นหา และทีมช่วยเหลือที่ดีที่สุด และจะตามไปด้วย ฟิลิปปินส์แอร์ฟอร์ซ ซี-130 เครื่องบินบรรทุกสินค้า และลูกเรือ รัฐบาลฟิลิปปินส์พร้อมบริจาคเงินแด่ญี่ปุ่น 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • รัสเซีย ประธานาธิบดีรัสเซีย ดมีตรี เมดเวเดฟ กล่าวว่ารัสเซียจะให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้านให้สามารถเอาชนะผลกระทบที่มาจากแผ่นดินไหว[28]
  • เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ เป็นประเทศแรกที่ได้ยื่นมือช่วยญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกด้วยทีมช่วยเหลือ โดยทีมแรกประกอบไปด้วย 5 คน และสุนัข 2 ตัว ถึงญี่ปุ่น ณ วันที่ 12 มีนาคม และอีกทีม 102 คน ถึง ณ วันที่ 14 มีนาคม[29] ทั้งยังมีการเตรียมพร้อมเพิ่มเติมหน่วยช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 100 ราย เกาหลียังเสนอส่งคนอีก 1,000 รายหากทางญี่ปุ่นมีความประสงค์[30] นอกเหนือจากการส่งคนไปช่วยเหลือแล้ว เกาหลีได้ส่งธาตุโบรอนสำหรับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และแหล่งพลังงาน[31] หลายจังหวัดได้เสนอความช่วยเหลือเช่นกัน จังหวัดคย็องกีบริจาคเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มเติมด้านการช่วยเหลือ[32]
  • เซอร์เบีย รัฐบาลเซอร์เบีย โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีคำส่งส่งทีมงานกู้ภัยจากหน่วยงานกู้ภัยในสถานการณ์ฉุกเฉินสู่ญี่ปุ่น[33]
  • ศรีลังกา ศรีลังกา บริจาคเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยและทีมงานแพทย์[35]
  • สหรัฐ สหรัฐอเมริกา เริ่มต้นปฏิบัติการณ์โทโมดาจิ[37] โดยใช้กำลังทหารจากหลายเหล่าทัพ เช่น กองเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส โรนัลด์เรแกน และอากาศยานจากฐานบินโยโกตะ[38][39]
  • เวียดนาม รัฐบาลเวียดนามบริจาคเงินช่วยเหลือ 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ แก่ประชาชนชาวญี่ปุ่น[40]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FACTBOX-Aid and rescue offers for Japan quake". Reuters. 15 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 16 March 2011.
  2. Jiji Press, "Disaster donations top ¥520 billion", Japan Times, 8 March 2012, p. 1.
  3. Nebehay, Stephanie (11 March 2011). "Japan requests foreign rescue teams, UN says". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  4. "Japan earthquake: Aid request to the UK". BBC News. 12 March 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011.
  5. "Disaster Charter – Earthquake in Japan". Disasterscharter.org. 28 May 2010. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011.
  6. "タイ国王夫妻が弔意". 産経新聞. 2011-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12. (ญี่ปุ่น)
  7. หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 13 มี.ค. 2554 ฉบับที่ 2957
  8. 8.0 8.1 หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 61 ฉบับที่ 21143 วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 หน้า 1, 12
  9. ""พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ" มอบถุงยังชีพ 3 พันชุดช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 2012-12-05.
  10. "タイ政府、日本に医療チーム派遣 毛布、食料も". newsclip. 2011-03-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14. (ญี่ปุ่น)
  11. นายกรัฐมนตรีแสดงความเสียใจที่ประเทศญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิ[ลิงก์เสีย]
  12. "News Headlines". Cnbc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  13. "Factbox: Aid and rescue offers for Japan quake". Reuters. March 16, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ March 16, 2011.
  14. "Rescue team ready for Japan". BDnews24. 14 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  15. "Cambodia expresses deep sympathy to Japan over massive quake". People's Daily. 13 March 2011.
  16. http://www.president.gov.tw/Default.aspx?tabid=131&itemid=24168&rmid=514
  17. http://www.ly.gov.tw/01_lyinfo/0101_lynews/lynewsView.action?id=27193&atcid=27193
  18. 18.0 18.1 ABCnews, 15. März 2011, Outpouring of international support for Japan
  19. "Factbox: Aid and rescue offers for Japan quake". Reuters. March 16, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ March 16, 2011.
  20. "India, Lanka to send aid". Hindustan Times. 14 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  21. "Indonesian Red Cross to send aid workers to quake-hit Japan". Monstersandcritics.com. 2010-11-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
  22. "Aid continues to reach Japan, evacuations go on". 16 March 2011.
  23. "Malaysia sends rescue team to Japan". People's Daily Online. March 12, 2011. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011.
  24. "Mercy Malaysia Deploys Four-Person Team to Tokyo" (Press release). Malaysian Medical Relief Society (Mercy Malaysia). March 13, 2011. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011.
  25. Embajada de México en Japón
  26. "New Zealand USAR team arrive in Japan". 3 News. 14 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  27. "No Pakistani casualty in Japan earthquake, tsunami: FO". Associated Press of Pakistan. 14 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  28. http://hosted.ap.org/dynamic/stories/E/EU_RUSSIA_TSUNAMI, AP News, 11 March 2011
  29. "[일본 대지진]대구소방본부 구조대원 日지진 현장서 구조활동". Chosun. 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 2011-03-16.
  30. "[일본 대지진]김문수 "日에 구조대 1000명 파견 의사 전달"". Chosun. 2011-03-18. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  31. "일본 "붕소 지원해달라"…한국 "재고 모자라도 주겠다"". Chosun. 2011-03-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-19. สืบค้นเมื่อ 2011-03-16.
  32. "[수도권I] 경기도 일본에 100만달러 구호금". Chosun. 2011-03-16.
  33. "DACIC EXPRESSED CONDOLENCES AND OFFERED ASSISTANCE TO JAPAN". Radio Srbija. 11 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  34. "Singapore sends rescue team to Japan". AsiaOne. Singapore Press Holdings. March 12, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-05. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011.
  35. Fernando, J.A. (14 March 2011). "Sri Lanka to send tri forces for rescue missions and US$1 million for Tsunami hit Japan". Asian Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  36. Tsunami hits Japan after massive quake
  37. "U.S. military, aid teams headed for Japan". Los Angeles Times. March 12, 2011.
  38. "Operation Tomodachi Aiding Japan Efforts". lalate.com. 12 March 2011.
  39. "Relief workers, search and rescue teams arrive at Misawa AB". U.S. Air Force. 13 March 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  40. "VN offers aid to Japan, works on citizens' safety" [Việt Nam trợ giúp nhân dân Nhật Bản 200.000 USD] (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Ha Thu. 2011/3/14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 2011/3/14. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]